หน่วยแสดงผล (Output Unit) หมายถึง หน่วยที่นำผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกแสดงในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งหน่วยแสดงผลข้อมูลนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) อุปกรณ์แสดงข้อมูลที่มนุษย์ไม่สามารถจับต้องข้อมูลที่แสดงนั้นได้จะแสดงผลในขณะนั้น เมื่อเลิกทำงานแล้วก็จะหายไป แต่ถ้าต้องการเก็บต้องส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยความจำสำรอง
หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ
1.จอ ภาพ (Monitor) จะแสดงผลข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้เห็นได้ทันที รูปร่างคล้ายจอโทรทัศน์ สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
1.1 จอแสดงผลแบบซีอาร์ที ใช้หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับโทรทัศน์ ปัจจุบันไม่ค่อยมีการใช้งานแล้ว
![]() |
CRT Monitor |
![]() |
LCD Monitor |
1.3 จอแสดงภาพแบบแอลอีดี ใช้หลักการของไดโอดเปล่งแสง โดยแสงที่เปล่งออกมาจะมีคลื่นความถี่และเฟสต่อเนื่องกันซึ่งต่างจากแสง ธรรมดา สามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟเพียงเล็กน้อย
![]() |
LED Monotor |
3.อุปกรณ์ เสียง (Audio Devices) ประกอบด้วยลำโพง(Speaker) และ การ์ดเสียง (Sound Card)เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงหรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียง ได้
หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมาย ถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้องได้และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักออกมาในรูปกระดาษ สามารถนำไปใช้ในที่ต่างๆหรือให้ผู้ร่วมงานดูได้
หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ
1. เครื่องพิมพ์ (Printer) สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้2ชนิด คือ
- เครื่องพิมพ์แบบกระทบ ใช้การตอกคาร์บอนบนผ้าหมึกให้ติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์สำเนา (Copy) ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่างกระดาษแต่ละแผ่น ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นบรรทัดต่อวินาที (lpm-line per minute) ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ก็คือ มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพ์ที่ได้จะไม่ดีนัก สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย คือ
• เครื่องพิมพ์อักษร (Character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
• เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งบรรทัด เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานได้รวดเร็ว แต่จะมีราคาสูง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือเครื่องพิมพ์ที่มีผู้ใช้หลายคน
เครื่องพิมพ์อักษร
![]() |
เครื่องพิมพ์บรรทัด |
• เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (Toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์แต่ละรุ่นจะแตกต่างกันในด้านความเร็วและความละเอียดของ งานพิมพ์ โดยปัจจุบันสามารถพิมพ์ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi)
![]() |
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ |
• เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (Inkjet Printer) ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากสามารถพิมพ์สีได้ ถึงแม้จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ตอก สามารถพิมพ์รูปได้คุณภาพใกล้เคียงกับภาพถ่าย และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกในปัจจุบันจะมีคุณภาพในการพิมพ์ต่างกันไปตาม เทคโนโลยีการฉีดหมึกและจำนวนสีที่ใช้ โดยรุ่นที่มีราคาต่ำมักใช้หมึกพิมพ์สามสี คือ น้ำเงิน ( cyan) , ม่วงแดง (magenta) และเหลือง (yellow) ซึ่งสามารถผสมสีออกมาเป็นสีต่าง ๆ ได้ แต่จะให้คุณภาพของสีดำที่ไม่ดีนัก จึงมีเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงกว่าที่เพิ่มสีที่ 4 เข้าไปคือ สีดำ (black) เครื่องพิมพ์ฉีดหมึกในปัจจุบันโดย มากจะใช้สีนี้เป็นหลัก แต่จะมีเครื่องพิมพ์อีกระดับที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์สำหรับภาพถ่าย (Photo printer) ที่จะเพิ่มสีน้ำเงินอ่อน (light cyan) และม่วงแดงอ่อน (light magenta) เป็น 6 สีเพื่อเพิ่มความละเอียดในการไล่เฉดสีภาพถ่ายให้เหมือนจริงยิ่งขึ้น และบางรุ่นก็จะมีการเพิ่มสีที่ 7 คือสีดำจางเพื่อช่วยในการพิมพ์เฉดสีเทาเข้าไปอีก
![]() |
เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก |
• เครื่องพิมพ์เทอร์มอล (Thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพในการพิมพ์สูงสุดจะมี 2 ประเภท คือ Thermal wax transfer ให้คุณภาพและราคาที่ต่ำกว่า ทำงานโดยการกลิ้งริบบอนที่เคลือบแวกซ์ไปบนกระดาษ แล้วเพิ่มความร้อนให้กับริบบอนจนแวกซ์นั้นละลายและเกาะติดอยู่บนกระดาษ ส่วน Thermal dye transfer ใช้หลักการเดียวกับ thermal wax แต่ใช้สีย้อมแทน wax จะเป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงสุด โดยสามารถพิมพ์ภาพสีได้ใกล้เคียงกับภาพถ่าย แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะสูงมาก
![]() |
เครื่อพิมพ์เทอร์มอล |
![]() |
เคื่องพลอตเตอร์ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น